รายละเอียด ของ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)

สนธิสัญญาฉบับนี้ และสนธิสัญญาสันติภาพอีกฉบับหนึ่งที่ทำขึ้นระหว่างบริเตนใหญ่กับกลุ่มประเทศที่ร่วมสนับสนุนสหรัฐอเมริกาซึ่งได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน และสาธารณรัฐดัตช์ นั้นถูกเรียกรวมกันว่า "สนธิสัญญาสันติภาพปารีส[3][4]" ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเพียงมาตรา 1 มาตราเดียวที่ยังมีผลบังคับใช้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรองสถานะความเป็นประเทศเอกราชของสหรัฐอเมริกา[5] ส่วนมาตราอื่นๆ นั้นเกี่ยวข้องกับเขตแดนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา จึงถูกแทนด้วยสนธิสัญญาฉบับใหม่ฉบับอื่นๆ แทน

ในอารัมภบทได้กล่าวถึงสนธิสัญญาว่า"กระทำในนามของพระตรีเอกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุด"[6] ซึ่งกล่าวถึงสัตยาบันของทั้งสองฝ่ายที่ตกลงร่วมกันเพื่อที่จะ "ลืมความขัดแย้งและความแตกต่างทั้งหมดทั้งปวงในอดีตที่ผ่านมา" และ "เพื่อนำไปสู่สันติภาพและความปรองดองซึ่งกันและกัน"

  1. บริเตนใหญ่รับรองให้สหรัฐอเมริกา (นิวแฮมป์เชียร์ แมสซาชูเซตส์ โรดไอส์แลนด์และนิคมพรอวิเดนซ์ คอนเนกติคัต นิวยอร์ก นิวเจอร์ซีย์ เพนซิลวาเนีย เดลาแวร์ แมรีแลนด์ เวอร์จิเนีย นอร์ทแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา และจอร์เจีย[7]) เป็นรัฐเอกราช โดยที่พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่รวมทั้งรัชทายาทผู้สืบสันตติวงศ์ทั้งหมดจะไม่อ้างสิทธิ์ในรัฐบาล ทรัพย์สิน และสิทธิต่อดินแดนของสหรัฐอเมริกา
  2. มีการกักกันเขตพรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับดินแดนในอาณานิคมของบริเตนใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งกินบริเวณตั้งแต่แม่น้ำมิสซิสซิปปีจนถึงอาณานิคมทางตอนใต้
  3. ให้สิทธิในการทำประมงต่อสหรัฐอเมริกาในบริเวณแกรนด์แบงส์ เกาะนิวฟันด์แลนด์ และอ่าวเซนต์ลอเรนซ์
  4. รับรองหนี้ที่จะต้องชำระให้กับเจ้าหนี้ของทั้งสองฝ่ายอย่างถูกต้อง
  5. รัฐสภาของสหพันธ์จะต้องแนะนำอย่างเข้มงวดให้มีการตรากฎหมายสำหรับสิทธิในการถือครองที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้อง และจะต้องมีการชดใช้ให้กับสินทรัพย์ สิทธิ และทรัพย์สินต่างๆ ของชาวบริติช (และผู้นิยมกษัตริย์) ที่ถูกริบไป
  6. สหรัฐอเมริกาจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการริบหรือยึดครองสินทรัพย์ของฝ่ายผู้นิยมกษัตริย์อีก
  7. เชลยศึกของทั้งฝ่ายจะต้องได้รับอิสรภาพ สินทรัพย์ทั้งหมดของบริเตนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องคงอยู่ และถูกริบ
  8. ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าถึงแม่น้ำมิสซิสซิปปีได้เสมอกัน
  9. ดินแดนที่แต่ละฝ่ายยึดครองได้ภายหลังจากการทำสนธิสัญญานี้จะต้องส่งคืนโดยปราศจากการชดใช้ค่าปรับ
  10. ให้ลงสัตยาบันในสนธิสัญญานี้ภายในหกเดือนหลังจากการลงนามแล้ว

ลงท้ายสนธิสัญญาว่า "ลงนามที่กรุงปารีส ในวันที่ 3 เดือนกันยายน ปีแห่งคริสต์ศักราชที่ 1783"

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) http://www.americanclarion.com/2012/09/03/holy-und... http://avalon.law.yale.edu/18th_century/parisno.as... http://memory.loc.gov/cgi-bin/ampage?collId=llsl&f... //doi.org/10.1080%2F07075332.1983.9640318 //doi.org/10.1080%2F07075332.1983.9640322 http://www.historycooperative.org/cgi-bin/justtop.... //www.jstor.org/stable/25080922 https://books.google.com/books?id=OFIsAAAAMAAJ https://books.google.com/books?id=W86WS9Z0ycYC&pg=... https://books.google.com/books?id=XkfAAgAAQBAJ&q=A...